Product Channel

กระบวนการ ทีดี การเคลือบแข็งด้วย VC
กระบวนการภายใต้
สูญญากาศ

ทรัฟฟ์ไตรค์ QP,
QPQ

คาร์บูไรซิ่ง
การชุบแข็งด้วยเตาเกลือ
การชุบแข็งด้วยระบบ
อินดั๊กชั่น
การชุบแข็งด้วยเปลวไฟ
การให้คำปรึกษาแนะนำ


 
กระบวนการภายใต้สุญญากาศ  

ข้อดีของงานที่อบชุบด้วยเตาสูญญากาศ

  • ผิวสะอาด
  • งานไม่สูญเสียคาร์บอนออกไป
  • ไม่เกิดอ๊อกซิเดชั่น
  • เกิดการเปลี่ยนรูปน้อย
  • แก้ไขและเปลี่ยนแปลงง่าย
  • สามารถบัดกรีแข็งภายใต้สูญญากาศที่อุณหภูมิสูงได้
  • ประหยัด
ข้อมูลทางด้านเทคนิคของเตา VKNQ
  • พื้นที่บรรจุงาน 650x600x900 มม.
  • น้ำหนักบรรจุสูงสุด 650 กก.
  • อุณหภูมิใช้งานสูงสุด 1,300 oC
  • ความเที่ยงตรงของอุณหภูมิ <+5 oK
  • ชุบด้วยแก๊สไนโตรเจนความดัน 6~10 บาร์
  • สามารถทำสูญญากาศได้ถึง 10-2~10-5 mbars
    จัดสร้างโดย ALD (เยอรมัน)
กระบวนการ ให้ความร้อนด้วยการพา
  • การส่งผ่านความร้อนด้วยการแผ่รังสีเพียงอย่าง
    เดียวภายใต้สูญญากาศ จะไม่ได้ผลที่อุณหภูมิต่ำ
    กว่า 500 oC และยังผลให้อุณหภูมิที่ผิว และแกน
    ของชิ้นงานมีความแตกต่างกันมาก
    ผลของความแตกต่างของอุณหภูมิดังกล่าวทำ
    ให้เกิดความเค้น (Thermal Stress) ซึ่งอาจจะเป็น
    ต้นเหตุทำให้เกิดการบิดงอของชิ้นงาน
  • โดยการเพิ่มแก๊สไนโตรเจนความดัน 2 บาร์เข้าไป
    เพื่อทำให้เกิดการส่งผ่านความร้อนด้วยการพา ซึ่ง
    ทำให้การให้ความร้อนเป็นไปอย่างรวดเร็ว สม่ำเสมอ
    และทั่วถึง


กระบวนการชุบแบบ มาร์เคว้นชิ่ง
  • ในกรณีที่ชิ้นงานมีขนาดใหญ่ และรูปร่างสลับซับ
    ซ้อน การชุบให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วทันที่ทันใด อาจจะ
    เป็นสาเหตุของการแตกร้าวและ/หรือการบิดงอของ
    ชิ้นงานอย่างรุนแรง
  • การชุบโดยให้เย็นตัวลงมาที่ระดับเหนือจุดมาร์เทน
    ไซด์เริ่มต้นของวัสดุ ซึ่งควบคุมด้วยโปรแกรมโดยการ
    ติดตั้งเทอร์โมคับเปิล์สองเส้นไว้ที่ผิวและแกนของชิ้น
    เทียบเคียง(Dummy) ซึ่งบรรจุเข้าไปพร้อมกับชิ้นงาน
    เป็นการชุบที่ทำให้การเกิดการบิดงอของชิ้นงานน้อยที่สุด
กระบวนการ สลับทางของการชุบ
  • ในขั้นตอนของการชุบนั้นเหล็กกล้าจะต้องถูกชุบให้เย็นตัว ในอัตราที่รวดเร็วและช้าเท่าที่จะสามารถกระทำได้
  • ใช้อัตราการเย็นตัวที่เร็วเพียงพอเพื่อให้ได้โครงสร้างที่ สมบูรณ์และช้า ๆ หลังจากนั้น เพื่อป้องกันการแตกร้าว และการบิดงอต่าง ๆ ของชิ้นงาน
  • เตาของเราสามารถควบคุมได้ทั้งสองอย่างคือทำการชุบ ด้วยแก๊สความดันสูงพร้อมกับการสลับทิศทาง ของการชุบ ด้วยโปรแกรมที่กำหนดตลอดจนการชุบแบบมาร์เคว้นชิ่ง
องค์ประกอบ การอบชุบด้วยความร้อนของ เหล็กกล้าเครื่องมือส่วนผสมสูง
  • การชุบแข็งเหล็ก เครื่องมือ ส่วนผสมสูง จำเป็นที่จะต้องกระทำภายใต้กระบวนการสูญญากาศ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดอ๊อกซิ
    เดชั่น และการสูญเสียธาตุคาร์บอน
  • ในกระบวนการภายใต้สูญญากาศของเราใช้ชิ้นเทียบเคียงซึ่งมี เทียบเคียงซึ่งมีขนาดที่มีความโตเท่ากับชิ้นงานที่จะทำการชุบ
    แข็งโดย ติดตั้งเทอร์โมคับเปิล์สองเส้นไว้ที่ผิวและแกน ซึ่งเทอร์โมคับเปิล์ดังกล่าวสามารถที่จะจัดการควบคุมอุณหภูมิ ที่ผิวและแกนของชิ้นงาน จนตลอดทั้งกระบวนการของการชุบแข็ง โดยวิธีการนี้เราสามารถที่จะ ; -


    1. จัดการเกี่ยวกับความเค้นอันเนื่องจากความร้อนซึ่งเกิดขึ้น ในขณะที่ให้ความร้อนแก่ชิ้นงาน และทำให้เกิดการบิดงอน้อยลง
    2. ป้องกันการเกิดโครงสร้างออสเทนไนท์ ไม่เพียงพอที่แกนและการเกิดการละลายของคาร์ไบด์ในโครงสร้างออสเทนไนท์ที่
    มากเกินไป โดยการควบคุมอุณหภูมิของการเกิดโครงสร้างออสเทนไนท์ที่แกน

    3. ประยุกต์ใช้กระบวนการมาร์เคว้นชิ่งเพื่อที่ จะป้องกันการแตกร้าวและลดการบิดงอ อันเกิดจากทั้งความเค้นที่เกิดจากความร้อน และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ในกรณีของชิ้นงานที่มีรูปร่างสลับซับซ้อน


การอบคืนไฟที่อุณหภูมิสูงจำนวน 3 ครั้งเป็นกฎทั่วไปของการทำงาน การอบคืนไฟครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแยกสลายออสเทนไนท์ที่
ตกค้าง ซึ่งไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ในเหล็กคาร์บอนสูง และเหล็กกล้าเครื่องมือส่วนผสมสูง โดยการอบคืนไฟครั้งที่ 2 เรา
ทำเพื่อควบคุมให้ ได้ความแข็งตามต้องการ การอบคืนไฟครั้งที่ 3 คือการอบคลายความเค้น เพื่อที่จะป้องกันการเกิดการแตกร้าว และการเปลี่ยนรูปตลอดกระบวนการที่ต่อเนื่องในภายหลัง
เหล็กกล้าเครื่องมืองานร้อน
  • ส่วนมากเหล็กกล้าเครื่องมืองานร้อนมีความสามารถ ในการชุบแข็งสูง และสามารถที่จะทำการชุบแข็งด้วยแก๊ส ในกระบวนการภายใต้สูญญากาศ ประกอบกับขนาดของแม่พิมพ์ที่ใหญ่ขึ้น และปัญหาการแตกร้าวระยะแรก (EARLY CRACKING) ได้เกิดขึ้น ดังนั้นความเร็วในการชุบเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องนำมา
    พิจารณา
  • สืบเนื่องจากแผนภูมิ CCT ด้านขวามือ การเกิดโครงสร้าง
    เบไนท์ เกิดขึ้นในขั้นตอนที่เร็วกว่า การเกิดโครงสร้าง
    เพิลไลท์ และมันจะประกอบด้วย โครงสร้างออสเทนไนท์ที่ตกค้างอยู่ในเนื้อพื้น (MATRIX)จำนวนหนึ่ง การเกิดการรวมตัวของคาร์ไบด์ที่บริเวณขอบ
    เกรนของออสเทนไนท์ อันเนื่องมาจากการอบคืนไฟ เป็นสาเหตุของการเกิดการแตกร้าวระยะแรก (EARLY CRACKING)
เหล็กกล้าเครื่องมืองานเย็น
  • ในการชุบแข็งเหล็กชนิดนี้ไม่สามารถ ที่จะหลีกเลี่ยง
    โครงสร้าง ออสเทนไนท์ที่ตกค้างได้ เพราะว่ามีส่วนผสม และคาร์บอนสูง
  • บ่อยครั้งโครงสร้างออสเทนไนท์ที่ตกค้าง เป็นต้นเหตุของการแตกร้าว และการเปลี่ยนรูปของชิ้นงาน โดยเฉพาะชิ้นงานที่จะต้องไปทำ Wire Cut หรือเจียรไน การทำ Subzero Treatment หรือการอบคืนไฟที่อุณหภูมิสูงจำนวน 2 ครั้ง สำหรับชิ้นงานดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
  • โดยการอบคืนไฟที่อุณหภูมิสูง ความแข็งที่ได้ จะอยู่ในช่วง 55~58 HRC ถ้าหากต้องการความแข็งถึง 60 HRC
    อุณหภูมิ ในการชุบแข็งจะต้องใช้ถึง 1,070 oC ซึ่งจะสูงกว่าอุณหภูมิ ชุบแข็งปกติคือ 1,030 oC ทั้งนี้ เพื่อที่จะให้ได้ความแข็ง อันเนื่องมาจากการเกิด second hardening กระบวนการเช่นนี้ไม่แนะนำ เพราะเป็นการเพิ่มปริมาณของโครงสร้างออสเทนไนท์
    ที่ตกค้าง
  • การอบคลายความเค้นจะกระทำสำหรับ กระบวนการแปรรูป ด้วยเครื่องมือกลที่ต่อจากการชุบแข็ง
เหล็กไฮสปีด
  • เหล็กไฮสปีดได้ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับเครื่องมือตัด ซึ่งสามารถที่จะรักษาความแข็งที่สูงเอาไว้ ถึงแม้ว่าได้รับความร้อนถึงสภาพ ร้อนแดงโดยอันเนื่องมาจากการตัดที่ ใช้ความเร็วรอบสูง เพื่อวัตถุประสงค์นี้ อุณหภูมิชุบแข็ง จำเป็นจะต้องกระทำที่อุณหภูมิ 1,200 oC เพื่อต้องการความแข็งสูง
  • การอบคืนไฟ จะต้องกระทำมากกว่า 3 ครั้ง เป็นเพราะเหล็กกล้าชนิด นี้มีปริมาณของโครงสร้างออสเทนไนท์ที่ตกค้าง ภายหลังชุบแข็งเป็นจำนวนมาก
  • เครื่องมือตัดบาง ๆ สามารถที่จะทำการ ดัดได้โดยอาศัยคุณสมบัติของ โครงสร้างออสเทนไนท์ที่ตกค้างหลังจาก การชุบในขณะที่ยังอุ่นอยู่
  • เหล็กไฮสปีดเมื่อใช้งาน ที่ไม่เกิดความร้อน (ROOM TEMPERATURE) และต้องการความแกร่ง จะต้องใช้อุณหภูมิ ชุบแข็งที่ต่ำกว่าปกติ ซึ่งกระบวนการสำหรับความ แกร่งสูงนี้เรียกว่า UNDER HARDENING



  • ฟิล์มของอ๊อกไซด์บนผิวของโลหะชิ้นงาน จะถูกขจัดโดยสูญญากาศ และผิวผนังของมันถูกอาบ ไปด้วยตัวประสาน (ALLOY) เป็นผลทำให้เกิด การเชื่อมประสานที่ดี
  • ด้วยการให้ความร้อนแก่ ชิ้นงานที่อุณหภูมิสูงภายใต้ สูญญากาศที่เพียงพอแก่การแพร่ กระจายของโลหะทำให้เกิดการเชื่อม
    ประสานที่ปราศจากสารมลทิน และเกิดโพรงภายใน
  • ช่องว่าง (GAP) แคบ ๆ ที่มีค่าน้อยกว่า 0.05 มม. ทำให้การเชื่อมประสานของโลหะมีความแข็งแรง และความเที่ยงตรงสูง