|
|
|
การชุบแข็ง
(Bright Hardening) ด้วยเตาเกลือ
|
|
|
- เกลือกลาง Durferrit
GS540/R2 ของ Degussa ที่
หลอมละลายจะทำการปกคลุมชิ้นงานตลอดทั้งกระบวนการ
ให้ความร้อนซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดการสูญเสียคาร์บอน
และการตกสะเก็ดของชิ้นงาน
- เมื่อนำชิ้นงานออกจากเตา
ฟิล์มบาง ๆ ของเกลือจะเคลือบอยู่ที่
ผิวของชิ้นงาน อันเป็นการป้องกันการสูญ
เสียคาร์บอนและการ ตกสะเก็ด
ซึ่งฟิล์มดังกล่าวนี้สามารถที่จะร่อนหลุดออกได้โดย
ง่ายในสารชุบจึงทำให้เกิดการเย็นตัวที่รวดเร็วได้โดยสมบูรณ์
- ปริมาณของความร้อนที่มีมากในเกลือทำให้ชิ้นงาน
สามารถที่
จะได้รับความร้อนรวดเร็วถึง 3 เท่า ของเตาประเภทอื่น
- เบ้าเกลือจะถูกควบคุมคุณภาพประจำเป็นรายวันโดยการตักตะกอน
และตรวจสอบการสูญเสียคาร์บอนโดยการใช้ลวด
เหล็กกล้าคาร์บอนสูง
|
|
- ตลอดขั้นตอนของการชุบ
ทำให้เกิดทั้งความเค้นที่เกิดจาก
ความร้อนและความเค้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
อันเนื่องมาจากความแตกต่าง ของความร้อนระหว่างที่ผิวและ
ที่แกนของชิ้นงานซึ่งเป็นสาเหตุของการบิดงอและการแตกตัว
โดยเฉพาะกับชิ้นงานที่มีรูปร่างสลับซับซ้อน
|
 |
- ปัญหาดังกล่าวข้างต้นสามารถที่จะป้องกันได้โดยการหยุดการ
เย็นตัวของชิ้นงานที่เหนืออุณภูมิของการเปลี่ยนแปลงโดยสร้าง
(MS) และหลังจากนั้นให้เย็นตัวอย่างช้า ๆ ซึ่งเรียกว่า
ไทม์เคว้นชิ่ง (Time Quenching)
|
 |
แสดงหลักการของไทม์เคว้นชิ่ง
|
|
ออสเทมเปอร์ริ่ง (Austempering)
|
|
|
ออสเทมเปอร์ริง คือ
กรมมวิธีชุบแข็งแบบพิเศษที่ต้องชุบชิ้นงานลงในอ่างเกลือร้อนที่มีอุณหภูมิคงที่
และแช่ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ
นั้น ระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสู่เบนไนท์
ซึ่งโครงสร้างเบนไนท์นี้ มีคุณสมบัติพิเศษในด้านความเหนียว
และความแกร่งสูง เมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างมาร์เทนไซท์
ที่ได้จากการชุบแข็งและการคืนไฟโดยทั่วไป นอกจากนี้กรรม
วิธีนี้ ยังมีข้อได้เปรียบเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปและการเปลี่ยนขนาดภายหลังจากการอบชุบน้อย
ตารางที่ 1 ข้างล่างจะแสดงตัว
อย่าง คุณสมบัติทางกล ซึ่งได้มาจากกรรมวิธีที่แตกต่างกัน
3 กรรมวิธี
|
|
ตารางที่
1 แสดงคุณสมบัติเชิงกลของกรรมวิธีชุบแข็ง 3 แบบที่แตกต่างกัน |
|
|
ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งและอุณหภูมิการทำออสเทมเปอร์ |
|
|
|
|
|