Product Channel
กระบวนการ ทีดี การเคลือบแข็งด้วย VC
กระบวนการภายใต้
สูญญากาศ
ทรัฟฟ์ไตรค์ QP,
QPQ

คาร์บูไรซิ่ง
การชุบแข็งด้วยเตาเกลือ
การชุบแข็งด้วยระบบ
อินดั๊กชั่น
การชุบแข็งด้วยเปลวไฟ
การให้คำปรึกษาแนะนำ

 
คาร์บูไรซิ่ง(การเพิ่มคาร์บอน) คืออะไร?
 

  • คาร์บูไรซิ่ง เป็นวิธีการอันน่าทึ่ง วิธีหนึ่งที่สามารถเพิ่มคุณสมบัติที่ดี
    แก่ผิวของเพลา เฟือง และชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลที่ต้องการความเค้นสูงอื่น ๆ
  • คาร์บูไรซิ่ง สามารถทำการเปลี่ยนแปลงให้ชิ้นงาน ที่ทำด้วยเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำเ ปลี่ยนเป็นทั้งเหล็กกล้าคาร์บอนสูงที่ผิว และเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำที่แกนได้ในขณะเดียวกัน
  • เมื่อทำการชุบชิ้นงาน ภายหลังจากทำคาร์บูไรด์ซิ่ง ให้ได้โครงสร้างมาร์เทนไซด์ และ ทำการอบคืนไฟ จะได้ความแข็ง และ ความแข็งแรงของโครงสร้างที่ผิวสูง ประกอบกับแรงสนับสนุนจากความเค้นที่ตกค้างอันเนื่อง มาจากปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผิว และแกนในระหว่างการชุบ จึงเป็นผลทำให้เกิดการทนต่อการเสียดสี การทนต่อความล้าอันเกิดจากการบิดตัว และความล้าอันเกิดจากการหมุนสัมผัส(ROLLING-CONTACT) เป็นอย่างสูง
ข้อได้เปรียบของ durferrit คาร์บูไรซิ่ง
  • CEconstant80 เป็นเกลือที่จดสิทธิบัติโดย DURFERRIT (ประเทศเยอรมัน)
  • ด้วยขีดความสามารถของคาร์บอน ในเกลือสามารถควบคุมได้โดยง่าย จึงทำให้ความเข้มข้นของคาร์บอนที่ได้ มีปริมาณถูกต้องและแม่นยำ
  • โดยกระบวนการคาร์บูไรซิ่ง ยังได้ไนโตรเจนจำนวนหนึ่งไปพร้อมๆ กันกับคาร์บอน ที่ได้โดยปกติ (คาร์โบ-ไนไตร)
  • คาร์โบ-ไนไตรดิ้งสามารถควบคุมได้โดยอุณหภูมิที่ใช้ทำ
  • การชุบโดยตรงจากอุณหภูมิคาร์บูไรซิ่งจะเกิดการเปลี่ยนรูปน้อย
  • ประหยัด และ รวดเร็วแม้แต่ปริมาณงานจำนวนน้อย
การวัดความลึก ของผิว
  • คุณภาพของชิ้นงานคาร์บูไรซิ่ง บ่งชี้ได้ทั้งโดยความแข็งของผิว และความลึกของผิว
  • ความลึกของผิว ได้ถูกแบ่งออกเป็น ความลึกของผิว EFFECTIVE และความลึกของผิวรวม เพื่อความชัดเจนในการสั่งงาน
  • ความลึกของผิว EFFECTIVE คือ ระยะจากผิวเข้าไปสู่ความแข็งที่กำหนดไว้ ถ้าไม่กำหนดไว้ให้ใช้ค่าความแข็ง HRC 50 เป็นตัวกำหนด
  • ความลึกของผิวรวม คือ ระยะจากผิวถึงตำแหน่งที่เกิดแถบของความแตกต่าง อันเนื่องมาจาก การกัดด้วยกรดของเนื้อพื้นเหล็กเดิม หรือวิธีการทดสอบความแข็ง
การประมาณค่าความแข็งภายใน
    การประมาณค่าความแข็งภายในของชิ้นส่วนคาร์บูไรซิ่ง โดยใช้จอมินีเคอร์ฟ (JOMINY CURVE) ของแข็ง เริ่มจากการ
    เลือกสารชุบ เช่น น้ำหรือน้ำมัน การเลือกช่วงของความแข็ง เช่น ที่ผิว 3/4 จากแกนกลางหรือที่ศูนย์กลางของเพลา ค่าความ
    แข็งหาได้จากจุดตัด โดยการลากเส้นจากเส้นผ่าศูนย์กลางของเพลา ลงมาตัดกับ จอมินีเคอร์ฟ (JOMINY CURVE) ของ
    เหล็กชนิดนั้นๆ ซึ่งความแข็งผิวหมายถึงสภาพผิวที่ไม่ได้ทำการคาร์บูไรซิ่ง